ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดิมมีชื่อว่า คณะวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ในปีการศึกษา 2519 หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์คนแรก คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม กุลสิงห์ ขณะนั้นคณะวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 9 ภาควิชา คือ 1) ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 2) เคมี 3) ชีววิทยา 4) คณิตศาสตร์และสถิติ 5) เกษตรศาสตร์ 6) สุขศึกษา 7) คหกรรมศาสตร์ 8) พลศึกษา และ 9) หัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์
ต่อมาได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 (แก้ไข พ.ศ. 2527) คณะวิชาวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย้ายภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการไปสังกัด คณะวิชาครุศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาเกิดขึ้นใหม่ ใช้อาคาร 5 ชั้น 2 เป็นสำนักงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงยังคงประกอบด้วย 9 ภาควิชา แต่มีชื่อเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ดังนี้ 1) ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 2) ภาควิชาเคมี 3) ภาควิชาชีววิทยา 4) ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 5) ภาควิชาเกษตรศาสตร์ 6) ภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ 7) ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ 8) ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา และ 9) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งจึงได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ”
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูมหาสารคามยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคามตาม พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
ปีการศึกษา 2539 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมผลิตบัณฑิต สาขา วท.บ. เคมี และ วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ ให้กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามโครงการส่งเสริมการผลิตครูผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) และในปีการศึกษา 2541 ใน 3 สาขาได้แก่ วท.บ. เคมี วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ วท.บ. ฟิสิกส์ จนถึงปีการศึกษา 2559
วันที่ 9 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยได้รับการสถาปนาตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 27 มีนาคม 2558 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้ประกาศตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และให้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และอาจารย์บางส่วนย้ายไปสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
ทำเนียบผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.)
หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียนฝึกหัดครูมหาสารคาม (ฝค.มค.)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม กุลสิงห์ 2500-2502 (ลาศึกษาต่อ)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ 2503-2505
หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม (วค.ม)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ 2505-2510 (ศึกษาดูงานประเทศอังกฤษ)
- อาจารย์ ดร.ถวิล ลดาวัลย์ (รักษาการ) 2511-2512
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ 2513-2518
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม กุลสิงห์ 2519-2526
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์ สหวิทยาลัยอีสานเหนือ จังหวัดมหาสารคาม
- อาจารย์สหัส หาญสินธุ์ 2527-2530
- รองศาสตราจารย์ประพันธุ์ เตละกุล 2531-2533
หัวหน้าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม (สรภ.มค.)
- อาจารย์สมจิต ทั่วทิพย์ 2534-2536
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเวก บุญมี 2537-2538
หัวหน้าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม (สรภ.มค.)
- อาจารย์ ดร.ทองม้วน นาเสงี่ยม 2539-2542
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผชาติ เรืองสุวรรณ 2543-2546
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน ศรีสะอาด 2547-2550
- อาจารย์ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง 2551-2554
- อาจารย์ ดร.มานิตย์ อัญญะโพธิ์ 2555-2560
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ อัญญะโพธิ์ 2561-2564
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง 2564-ปัจจุบัน
ข้อมูลพื้นฐานโดยต่อเนื่องกับงบประมาณ และอาคารสถานที่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอาคารเรียนทั้งสิ้น จำนวน 6 หลัง ประกอบด้วย
- อาคาร 5 ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาฟิสิกส์ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี
- อาคาร 6 สาขาคอมพิวเตอร์
- อาคาร 9 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- อาคาร 12 สาขาสาธารณสุขชุมชน
- อาคาร 10 (ศูนย์วิทยาศาสตร์)
- อาคาร 15 จำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้น 6 และชั้น 8 ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสถิติศาสตร์ประยุกต์
- อาคาร 39 อาคารปฏิบัติการกลางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้องประชุม ห้องเรียนรวม และห้องปฏิบัติการสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยียางและ พอลิเมอร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 13 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 10 หลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2 หลักสูตร และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) ต่อเนื่อง 2 ปี 1 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 5 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
1. เคมี
2. ชีววิทยา
3. ฟิสิกส์
4. คณิตศาสตร์
5. วิทยาการคอมพิวเตอร์
6. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
7. สาธารณสุขชุมชน
8. สถิติศาสตร์ประยุกต์
9. เทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตร WIL)
10. เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ (หลักสูตร WIL)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
1. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำและนวัตกรรมสารสนเทศ (หลักสูตร WIL)
2. วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง (หลักสูตร WIL)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) ต่อเนื่อง 2 ปี
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
1. ชีววิทยาศึกษา
2. เคมีศึกษา
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- เคมีศึกษา
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา